โรงเรียนบ้านสวนอาย

นายประเสริฐ ปานอินทร์
ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านสวนอาย

ประวัติ โรงเรียนบ้านสวนอาย

โรงเรียนบ้านสวนอาย เริ่มก่อสร้างอาคารเมื่อ  10  พฤษภาคม  2495 โดยประชาชนในหมู่บ้าน ขนาด  8 × 16 เมตร จำนวน 1  หลัง 2  ห้องเรียน  มุงกระเบื้องกับไม้กระดาน  ไม่ใช่เงินงบประมาณของทางราชการ  คิดเป็นเงิน 58,450 บาท  พร้อมโต๊ะครู 3 ชุด  ม้านั่งนักเรียน 28 ชุด  กระดานดำ 6 แผ่น  คิดเป็นเงิน 1,850 บาท  บนเนื้อที่  6  ไร่ ที่ได้รับบริจาคจากนายเกตุ   องอาจ  ประมาณ  4 ไร่ 3  งาน  40  ตารางวา  ราคา  3,500  บาท และนายพัว   วงศ์สวัสดิ์  ประมาณ  1  ไร่  1  งาน 20  ตารางวา  ราคา  1,500  บาท ในการดำเนินการมีบุคคลที่ร่วมคือ  นายพร้อม  สิทธิเชนทร์  ครูใหญ่โรงเรียนวัดยางค้อม  เป็นตัวแทนประสานกับทางราชการ  ฝ่ายการศึกษาอำเภอฉวาง  เพื่อก่อสร้างโรงเรียน

พระมหากลั่น  ชวนปัญโญ  เจ้าอาวาสวัดยางค้อม  เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อตั้งโรงเรียน  คณะดำเนินการประกอบด้วย  นายยอง   ประพฤติ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  1  ตำบลละอาย อำเภอฉวาง  นายเกตุ  องอาจ,   นายพัว  วงศ์สวัสดิ์,  นายหมี   สิทธิเชนทร์,  นายแอ่น   สิทธิเชนทร์  เป็นหัวหน้าคณะดำเนินการร่วมกับประชาชน  จนแล้วเสร็จเมื่อ  25  ธันวาคม  2496  เป็นเวลาปีเศษ

เปิดทำการสอนของ โรงเรียนบ้านสวนอาย ครั้งแรก  1  พฤษภาคม  2497  ชั้น ป.1 – 4  พร้อมเปิดป้ายโรงเรียนและให้เป็นสมบัติของการศึกษาประชาบาล

อาคารเรียนและพื้นที่

ทางราชการได้แต่งตั้ง นายประมวล   รัตนวิจิตร  เป็นครูใหญ่คนแรก

พ.ศ.  2498  นายเลียบ   เพชรวรพันธ์  เป็นครูใหญ่คนต่อมา

พ.ศ.  2518  ได้รับงบประมาณจากงานเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช  50,000 บาท  และองค์การบริหารส่วนจังหวัด 150,000 บาท  ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก ขนาด 8.50  97 เมตร  3 ห้องเรียน ตั้งชื่ออาคารเรียนว่า “อาคารเดือนสิบสงเคราะห์”

พ.ศ.  2522  ได้รับงบประมาณ 320,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียน ป.1 ก  ขนาด 8.50 × 36 ม.           4 ห้องเรียน

พ.ศ.  2523  เปิดทำการสอนชั้น ป.5 และ ป.6

พ.ศ.  2524  ได้รับงบก่อสร้างส้วม  ขนาด  3  ที่

พ.ศ. 2529  ได้รับงบก่อสร้างถังน้ำซีเมนต์   แบบ  ฝ.30  1 หลัง  อาคารเอนกประสงค์  แบบ ส.ป.ช. 202/26   จำนวน  1 หลัง

วันที่ 21 – 23  พฤศจิกายน 2531  เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่  โรงเรียนถูกน้ำพัดพาไปหมด  อาคารเรียน  อาคารประกอบ   และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ตลอดถึงหลักฐาน เอกสารทางราชการเกิดชำรุด เสียหาย และสูญหาย  พื้นที่โรงเรียนกลายเป็นลำคลอง  ทุกอย่างไม่สามารถซ่อมแซมได้

ทางราชการมอบเต็นท์  จำนวน 6 หลัง เพื่อใช้แทนอาคารเรียน  นำมาตั้งบริเวณบ้านนางสุวรรณ   เลิศไกร  เพื่อทำการเรียนการสอน  สำหรับโต๊ะ เก้าอี้  โรงเรียนวัดมะปรางงามเป็นให้ยืมจำนวนหนึ่ง  และส่วนหนึ่งประชาชนช่วยกันดำเนินการจัดสร้าง

ต่อมานางสุวรรณ   เลิศไกร,  นายเกลื่อม   เพชรชนะ  บริจาคที่ดิน 3 ไร่ 3 งาน เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่  ทางราชการอนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 2,182,000 บาท  ก่อสร้างอาคารเรียน  อาคารประกอบ  ทดแทนจำนวน  5  รายการ  คือ

1.  อาคารเรียน ส.ป.ช. 105/29  4  ห้องเรียน                1        หลัง

2.  อาคารเอนกประสงค์ ส.ป.ช. 202/26                       1        หลัง

3.  บ้านพักครู ส.ป.ช. 301/26                                       1        หลัง

4.  ส้วม ส.ป.ช. 601/26                                                1        หลัง

5.  ถังน้ำ ฝ. 30 พิเศษ                                                   1        ชุด

พ.ศ.2533  ได้รับลูกจ้างประจำ  1  ตำแหน่ง  คือนายสมบูรณ์   บุญประสิทธิ์  เป็นนักการภารโรง      1  พฤศจิกายน  2533  นายเลียบ   เพชรวรพันธ์  ลาออกจากราชการ  เนื่องจากรับราชการนานและให้         นายประวิทย์   เพชรวรพันธ์  รักษาการในตำแหน่งต่อมา

          22  มกราคม  2534  ทางราชการได้แต่งตั้ง  นายพรชัย   ริยาพันธ์  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

          พ.ศ. 2534  นายตูล   ปรีชา  บริจาคเสาธงชาติพร้อมก่อสร้างให้กับโรงเรียน

          30  มกราคม  2535  ทางราชการอนุมัติเป็นตำแหน่งอาจารย์ใหญ่  โดยนายพรชัย  ริยาพันธ์  เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก

พ.ศ.  2535  เปิดทำการสอนชั้นเด็กเล็ก  ได้รับงบประมาณ 279,400  บาท  ต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง ส.ป.ช.105/29  จำนวน  4   ห้องเรียน

26 มกราคม 2538  นายจำนงค์   นวลไทย มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่และได้จัดตั้งกองทุน “ครูประชาสวนอายสงเคราะห์” นำดอกผลเป็นทุนการศึกษาของนักเรียน  โดยกองทุนประเดิม 50,000 บาท

พ.ศ. 2540    นางเงิน    เลิศไกร  ภรรยานายนิตย์   บริจาคที่ดินเพิ่มเติมอีก

สรุปที่ดินที่รับบริจาค

นางสุวรรณ    เลิศไกร              1  ไร่  52  ตารางวา                 เป็นเงิน     56,500   บาท

นายเกลื่อม   เพชรชนะ             2  ไร่  35  ตารางวา                เป็นเงิน   104,375   บาท

นางเงิน   เลิศไกร                    1  ไร่  2  งาน  50  ตารางวา     เป็นเงิน     81,250   บาท

ในปีนี้ได้รับงบประมาณ  จำนวน 300,000 บาท  จากนายชินวรณ์    บุญเกียรติ  สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดนครศรีธรรมราช  เพื่อถมที่บริเวณสนามของโรงเรียน

30  กันยายน  2541  นายจำนงค์   นวลไทย  อาจารย์ใหญ่ได้เกษียณอายุราชการ

1  ตุลาคม  2541  นายศักดิ์   ลั่นนุ้ย มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่

15  ตุลาคม  2541  ประชาชนร่วมบริจาคเงินจำนวน  10,000 บาท     ต่อเติมอาคาร “มิตรไทยในเบลเบิร์น”  ทำเป็นเวทีและจัดสวนหย่อมหน้าอาคารเรียน

1  ตุลาคม  2543  ทางราชการได้อนุมัติเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  นายศักดิ์   ลั่นนุ้ย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

9  พฤศจิกายน 2555  นายจตุรงค์  ชนะราวี  มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

วิสัยทัศน์

การศึกษามีมาตรฐาน  การบริหารมีส่วนร่วม  รวมใจชุมชน  ทุกคนพัฒนา  เศรษฐกิจพอเพียง  หลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด  ใช้ชีวิตวิถีไทย  ก้าวไกลเทคโนโลยี

พันธกิจ

1.  วางแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร ตามความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น

2.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง แสวงหาความรู้และเรียนรู้ร่วมกันตรงความต้องการของชุมชน

3.  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4.  จัดการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อม บรรยากาศ เพื่อให้เกิดความสุข ความสำเร็จในการเรียนรู้

5.  เฝ้าระวังสุขภาพอนามัยของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

6.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักความเป็นไทย  เอกลักษณ์ไทยและค่านิยมที่ดีงาม รักชุมชน รักบ้านเกิด

7.  พัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานตามบทบาทหน้าที่สร้างความตระหนัก สมานความร่วมมือในการปฏิบัติ

8.  จัดระบบนิเทศกำกับ ดูแลช่วยเหลือ สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

9.  ประสานงานความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษา เพื่อร่วมกันจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่มีประโยชน์หลากหลายรูปแบบให้แก่ผู้เรียน

เป้าหมาย

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

1.  เห็นคุณค่าของตนเอง มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

2.  มีทักษะกระบวนการ การแก้ปัญหา การค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและการเขียน

3.  มีความรู้และทักษะทางวิชาการ โดยเฉพาะภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ

4.  มีความเชื่อมั่น สามารถปรับและควบคุมตัวเอง สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

5.  รักความเป็นไทย รักค่านิยมที่ดีงามและเอกลักษณ์ไทย รักสถาบันและท้องถิ่นของตนเอง

6.  ภูมิใจในความเป็นไทย รักประเทศชาติท้องถิ่น ยึดถือในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กิจกรรมโรงเรียน
ข่าวประชาสัมพันธ์